วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่11

การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน      จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
ในการจัดการเรียนการสอนในระบบใดก็ตาม บทบาทหน้าที่หลักของผู้สอนไม่แตกต่างกัน ตั้งแต่การออกแบบระบบการเรียนการสอน การเตรียมเนื้อหา การเลือก/ผลิตสื่อ การดำเนินกิจกรรมการเรียนการสร้างบรรยาศในชั้นเรียน การสร้างปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอน-ผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองการวัดและประเมินผล แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ เทคนิค และวิธีดำเนินการแต่ละขั้นตอนที่จะต้องปรับให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในการเรียนการสอน ที่แตกต่างกันในแต่ละระบบ
1.การวิเคราะห์หลักสูตร  เป็นการพิจารณารายละเอียดของจุดมุ่งหมายและเนื้อหา แล้วพิจารณาความสัมพันธ์ทั้งจุดมุ่งหมายและเนื้อหาเพื่อนำมาวางแผนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการสอบ
2.การวิเคราะห์ผู้เรียน
เป็นการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมี ความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน
3.การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย
             
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การจัดกิจกรรมโดยวิธีต่าง ๆ อย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไป
4 .การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน 
การเลือกสื่อการสอนเพื่อนำมาใช้ประกอบการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมี ประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
การใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ สามารถช่วยเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ใช้สื่ออย่างเดียวและสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่หลากหลายและสะดวกรวดเร็วต่อการทำงาน



5 การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ
การวัดและประเมินผลเป็นส่วนสำคัญของการจัดการเรียนการสอน  การวัดและประเมินผลจึงต้องปรับเปลี่ยนไป ให้มีลักษณะเป็นการประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และประเมินผลตามสภาพจริงด้วย
          การประเมินผลตามสภาพจริง เป็นการประเมินผลผู้เรียนรอบด้านตามสภาพจริงของผู้เรียน มีลักษณะสำคัญ
6 การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
  1.เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงในการเรียนการสอนในครั้งต่อไป
 2. เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อผลการเรียนหรือกิจกรรมระหว่างเรียนทุกครั้ง
3. เพื่อรายงานผลการประเมินให้ผู้ปกครองและตัวนักเรียนเองได้ทราบเป็นรายๆ
 4.เพื่อทราบจุดอ่อน จุดแข็งของผู้เรียน
5.  เพื่อนำผลการเรียนไปปรับปรุงในครั้งต่อไปได้ถูกต้องตรงประเด็น
7 การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตนเอง
การทำวิจัยในแต่ละครั้งจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายซึ่งมีวิธีการดังนี้
1.ปัญหาในการวิจัย
2.สาเหตุของปัญหา
3.การแสวงหาแนวทางการแก้ปัญหา
4.การพัฒนานวัตกรรม
5.การนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
6.ผลการใช้นวัตกรรม
วิธีการเหล่านี้จะทำให้โครงการหรือการพัฒนานวัตกรรมงานต่างๆบรรลุไปได้ด้วยดี
ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ พระพุทธศาสนากับการพัฒนาชีวิต            เวลา  2    ชั่วโมง
รายวิชาสังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม (ส31101)   ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม                                   เรื่อง หน้าที่ชาวพุทธ
มาตรฐานที่     1.2 ,1.3                              มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่    1.1.2,1.2.2,1.3.2                                              
_____________________________________________________________________
1.    สาระสำคัญ
                พุทธศาสนิกชนยึดพระพุทธศาสนาเป็น  แนวทางในการดำเนินชีวิต  ในฐานะชาวพุทธมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อพระพุทธศาสนา โดยการเรียนรู้วิถีชีวิตของพระภิกษุ การปฏิบัติอย่างเหมาะสมทั้งกายวาจาใจ ต่อพระสงฆ์ ตลอดการเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนาและการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
ทำให้มีความรู้ความเข้าใจและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                รู้และเข้าใจและสามารถปฏิบัติตนตามหน้าที่ชาวพุทธที่ดีได้
                ด้านความรู้
                            บอกหน้าที่ชาวพุทธและปฏิบัติตนชาวพุทธที่ดีได้
                ด้านทักษะ/ กระบวนการ
             1.  ปฏิบัติตนตามหน้าที่ชาวพุทธที่ดีได้ 
             2 .  กระบวนการกลุ่ม
                ด้านคุณลักษณะของผู้เรียน
             สามารถปฏิบัติตนในฐานะหน้าที่ชาวพุทธที่ดี และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

 3. สาระการเรียนรู้
                3.1  หน้าที่ชาวพุทธ
                3.2  การเรียนรู้วิถีชีวิตของพระสงฆ์
                3.3  ทิศ 6 มิตรแท้  มิตรเทียม
   3.4   การร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา
   3.5  การเข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา                      


4. ชิ้นงาน/หลักฐานการเรียนรู้เรื่องหน้าที่ชาวพุทธ
      1. ใบความรู้ เรื่องหน้าที่ชาวพุทธ
      2.  ใบงาน ที่ 1  เรื่องหน้าที่ชาวพุทธ
5. การบูรณาการ
                   การบูรณาการแบบสอดแทรกคุณธรรม

6. กระบวนการจัดการเรียนรู้

(ชั่วโมงที่  1  )
1.  ครูและนักเรียนสนทนาถึงการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา  ว่านักเรียนเคยร่วมกิจกรรมบ้างหรือไม่
2.  ครูแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวังว่า  รู้และเข้าใจและปฏิบัติตนหน้าที่ชาวพุทธที่ดีได้
   3. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  เรื่องหน้าที่ชาวพุทธ จำนวน 10 ข้อ
   4.  ครูแจกใบความรู้เรื่องหน้าที่ชาวพุทธ
   5.  นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ  6 คน ให้แต่ละกลุ่มเลือกหัวหน้ากลุ่มและเลขากลุ่มและมอบหมายงานดังนี้
      กลุ่มที่  1  ศึกษาเรื่องความหมายของชาวพุทธและการเรียนรู้วิถีชีวิตของพระภิกษุ
      กลุ่มที่  2  ศึกษาเรื่องการปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์ทางกาย
      กลุ่มที่  3  ศึกษาเรื่องการปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์ทางวาจา
      กลุ่มที่  4  ศึกษาเรื่องการปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์ทางใจ
      กลุ่มที่  5  ศึกษาเรื่องทิศเบื้องซ้ายทิศ 6
      กลุ่มที่  6  ศึกษาเรื่องมิตรแท้มิตรเทียม
      กลุ่มที่  7  ศึกษาเรื่องการร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา
      กลุ่มที่  8  ศึกษาเรื่องการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
  6. นักเรียนแต่ละคนลงมือปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายพร้อมสรุปความรู้ลงสมุดและนำเสนอในชั่วโมงต่อไป  พร้อมแจกใบงานที่ 1 เรื่องหน้าที่ชาวพุทธให้นักเรียนทำเพิ่มเติมนอกเวลาเรียน                                               

( ชั่วโมงที่  2 )
   1.  นักเรียนสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย  และครูซักถามถึงเนื้อหาสาระที่นักเรียนไปสรุปมาจากใบความรู้เรื่องหน้าที่ชาวพุทธ ว่านักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง
     2.  นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานหน้าชั้นเรียน  พร้อมทั้งครูสรุปเนื้อหาเพิ่มเติมให้นักเรียนพร้อมกับเฉลยใบงานที่ 1 เรื่องหน้าที่ชาวพุทธ
   3. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน 10 ข้อ เรื่อง หน้าที่ชาวพุทธ
7.สื่อ/แหล่งเรียนรู้
   1.  ใบความรู้เรื่องหน้าที่ชาวพุทธ
   2.  ใบงานที่ 1  เรื่องหน้าที่ชาวพุทธ
                3. แบบทดสอบก่อนเรียน -  หลังเรียนเรื่องหน้าที่ชาวพุทธ
                5. อินเตอร์เน็ต
                6. ห้องสมุด










8. การวัดและประเมินผล
               
             สิ่งที่ต้องการวัด
   วิธีวัดผล
 เครื่องมือ
           เกณฑ์
1. ความรู้(K)
                บอกหน้าที่ชาวพุทธและปฏิบัติตนชาวพุทธที่ดีได้



-  ทดสอบ
-  ตรวจใบงาน


- แบบทดสอบ
- ใบงาน

-  ผ่านเกณฑ์ 50%
2.ทักษะ/ กระบวนการ(P)
  ปฏิบัติตนตามหน้าที่ชาวพุทธที่ดีได้ 

-  สังเกตพฤติกรรมกลุ่ม

-  แบบสังเกตพฤติกรรมกลุ่ม

- เข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง
- ผ่านระดับคุณภาพ
3.คุณลักษณะผู้เรียน(A)
              สามารถปฏิบัติตนในฐานะหน้าที่ชาวพุทธที่ดี และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้


-  บันทึกพฤติกรรม


-  แบบบันทึกพฤติกรรม


- มีพฤติกรรมที่แสดงถึงหน้าที่ชาวพุทธที่ดี  อย่างน้อย
 2 ครั้ง











วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่10

 1. กรณีเขาพระวิหาร
 ปัญหาแรกเริ่มก็คือการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกอย่างเช่นฝรั่งเศสที่ยึดกัมพูชาไปจากไทยเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่  2  จบลง  ฝรั่งเศสหมดอำนาจลง   กัมพูชาเป็นอิสระปกครองตนเองอย่างสมบูณ์
             อย่างไรก็ตามปัญหาที่ตามมาสำหรับประเทศไทยและกัมพูชาที่ยืดเยื้อมายาวนานคือสิทธิในดินระหว่างไทยกับกัมพูชาที่ยังพิพากษ์กันอย่างต่อเนื่องนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น
โดยประเทศไทยต้องเสียเขาพระวิหารและดินแดนบริเวณที่ตั้งของเขาพระวิหารใน ช่วงที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา และมีปัญความขัดแย้งมาโดยตลอดในเรื่องของพื้นที่ทับซ้อนที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ จนกระทั่ง 2-3ปีที่ผ่านมาความขัดแย้งเริ่มทวีความรุนแรง ขึ้นเมื่อกัมพูชาพยายามผลักดันเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งรวมถึงพื้นที่บริเวณข้างๆเขาพระวิหารที่ด้วยมีปัญหาคือพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ พิพาทกันอยู่ ต่อมาในช่วงที่ผ่านมาเกิดการปะทะกันทหารไทยบาดเจ็บ 1นายจากการปะทะกันระหว่างไทยกับกัมพูชาอย่างไรก็ตามไทยยังใช้วิธีการประณีประนอมเจรจาเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุกลาม

            2.กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
การใช้แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 จะทำให้เส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาเปลี่ยนแปลงไป
      
       กล่าวคือ กัมพูชาเริ่มเปิดเกมรุกด้านดินแดนกับพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่กัมพูชาต้องการครอบครองด้วยการนำปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก จากนั้นเมื่อขึ้นมรดกโลกสำเร็จเส้นเขตแดนก็จะเปลี่ยนแปลงไป เพราะส่งผลทำให้ไทยต้องสูญเสียพื้นที่ 1.5 ล้านไร่ โดยกินพื้นที่ตั้งแต่อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ ตามขอบชายแดนตลอดไป จนถึงจันทบุรีและตราด
      
       ที่สำคัญคือ ประเทศไทยและกัมพูชายังมีการประกาศอ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทย ซึ่งมีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกัน คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 34,000 ตารางกิโลเมตร โดยฝ่ายกัมพูชาประกาศเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2515 ซึ่งวัดจากเส้นเขตแดนทางบกที่มาจรดริมทะเลตามที่ปรากฏในแผนที่ฝรั่งเศส โดยลากเส้นไหล่ทวีปพาดผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดของไทย
      
       ขณะที่ฝ่ายไทยประกาศเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2516 โดยวัดจากเส้นเขตแดนทางบกที่จรดริมทะเลตามที่ปรากฏในแผนที่เดินเรืออังกฤษ หมายเลข 2414 โดยเส้นในช่วงแรกใช้แนวแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของไทยกับเกาะกงของ กัมพูชา ส่วนเส้นช่วงที่เหลือเป็นเส้นแบ่งครึ่งทะเลระหว่างแนวเกาะของไทยกับกัมพูชา ซึ่งพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลดังกล่าวนั้นทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถ ตกลงกันได้
      
       และด้วยเหตุดังกล่าวทำให้พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลกลายเป็น ปัญหาที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนเนื่องจากฝ่ายกัมพูชาต้องการครอบครอง และถูกนำไปเชื่อมโยงกับการนำ ปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก เพราะในการเป็นมรดกโลกนั้นจะต้องมีเขตพื้นที่กันชน ซึ่งเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า จะเข้ามาล่วงล้ำอธิปไตยของไทย

              3.กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีในยุคที่มีการเซ็น MOU ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่เป็นคนเซ็นลงนามในหนังสือดังกล่าวร่วมกับ นายวาร์ คิม ฮง ที่ปรึกษารัฐบาลที่รับผิดชอบกิจการชายแดนของกัมพูชา นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายชวนนท์ อินทรโกมาลสุตย์ เลขาฯ นายกษิต ฯลฯ
ทั้งๆ ที่ความจริงก็คือ MOU ฉบับดังกล่าวเป็น MOU ซึ่งทำให้ไทยต้องสูญเสียอธิปไตยในผืนแผ่นดินของตัวเองด้วยการยอมรับแผนที่ มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า ระวางดงรักหรือ ANNEX1 ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเสียดินแดนเป็นจำนวนมากโดยกินพื้นที่ตั้งแต่ อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ ตามขอบชายแดนตลอดไป จนถึงจันทบุรีและตราด
      
       ทั้งนี้ MOU 43 คือการร่วมกันดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรไทย กับราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ข้อ ก. อนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส แก้ไขเพิ่มเติมข้อบทแห่งสนธิสัญญาฉบับ ลงวันที่ 3 ตุลาคม รัตนโกสินทร์ศก 112 หรือปี ค.ศ.1893 ว่าด้วยดินแดนกับข้อตกลงอื่นๆ ฉบับลงนาม ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศกปี 122 ปี ค.ศ. 1904  ข้อ ข. สนธิสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ ฝรั่งเศส ฉบับลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 125 ปี ค.ศ. 1907 หรือว่า 2450 กับพิธีศาลว่าด้วยการปักปันเขตแดน แนบท้ายสนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 125 หรือ ปี ค.ศ. 1907
      
       และข้อ ค. ซึ่งเป็นข้อที่สำคัญมากคือแผนที่ที่จัดทำตามผลงานของการปักปันเขตแดนของคณะ กรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาฉบับปี 1904 และสนธิสัญญาฉบับปี 1907 กับเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญาฉบับ 1907 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส
       สรุปสาระสำคัญของข้อ ค. คือให้ใช้แผนที่ของฝรั่งเศส
ก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
       สำหรับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจาก MOU 43 นั้น ต้องบอกว่าเหลือคณานับ เช่น  ประชาชนชาวไทยที่ลงทุนปลูกยางพาราและคนไทยที่ทำกินอยู่ในระแวกนั้นต้องศูนย์เสียที่อยู่ที่ทำกินอย่างถาวรเกิดเป็นปัญหาการจัดสรรที่อยู่ใหม่ปัญหาสังคมตามมา  แต่ประเด็นที่สำคัญที่สุดเห็นจะเป็นเรื่องอธิปไตยเหนือดินแดนไทยที่จะต้อง เปลี่ยนไปถึงขั้นต้องตีพิมพ์แผนที่ประเทศไทยใหม่กันทีเดียว
              4. กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
เขมรกล่าวหาว่าคนไทยล้ำแดนเขมรแต่รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยก็รีบรับมุกเลย ว่าเราล้ำแดนจริง วันแรกบอกว่าล้ำแดนไป 1.2 กม. วันที่ 2 แก้ข่าวใหม่ เป็น 55 เมตร  เป็น 8 เมตรทำไมไม่ศึกษาให้ดีก่อนให้ข่าวกันอย่างไร แค่ล้ำแดนหรือไม่ล้ำแดน มันเรื่องธรรมดาทำไม ต้องขึ้นศาลเขมรด้วย  มันไม่จำเป็นเลย  เศร้าจริง ๆ ที่เจ้าหน้าที่รัฐก็ได้แต่ย้ำว่า ไทยเราผิดเอง เท่านั้น  การให้การแบบนี้  มันช่วยคนไทย 7 คน หรือทำให้ติดคุกกันแน่ ทำอย่างอื่นไม่เป็นแล้วกระมัง
            ในความคิดของผมคิดว่าทำไมต้องยอมรับด้วยในเมื่อที่ตรงนั้นอยู่ในระหว่างข้อพิพากษ์รัฐบาลมีนัยยะอะไรแฝงอยู่หรือเปล่าเรื่องนี้มันชักยังไงอยู่หรือเป็นกลอุบายในการต่อสู้เรียกดินแดนมาเป็นของไทย หรือว่ารัฐบาลชุดนี้ความสามารถไม่ถึงกันแน่
         
อ้างอิง
หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
ประวิตรลั่นมีแผนรับมือหากชายแดนไทย-เขมรเดือด คมชัดลึก
http://www.navy22.com/smf/index.php?topic=1