วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่11

การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน      จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
ในการจัดการเรียนการสอนในระบบใดก็ตาม บทบาทหน้าที่หลักของผู้สอนไม่แตกต่างกัน ตั้งแต่การออกแบบระบบการเรียนการสอน การเตรียมเนื้อหา การเลือก/ผลิตสื่อ การดำเนินกิจกรรมการเรียนการสร้างบรรยาศในชั้นเรียน การสร้างปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอน-ผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองการวัดและประเมินผล แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ เทคนิค และวิธีดำเนินการแต่ละขั้นตอนที่จะต้องปรับให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในการเรียนการสอน ที่แตกต่างกันในแต่ละระบบ
1.การวิเคราะห์หลักสูตร  เป็นการพิจารณารายละเอียดของจุดมุ่งหมายและเนื้อหา แล้วพิจารณาความสัมพันธ์ทั้งจุดมุ่งหมายและเนื้อหาเพื่อนำมาวางแผนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการสอบ
2.การวิเคราะห์ผู้เรียน
เป็นการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมี ความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน
3.การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย
             
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การจัดกิจกรรมโดยวิธีต่าง ๆ อย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไป
4 .การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน 
การเลือกสื่อการสอนเพื่อนำมาใช้ประกอบการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมี ประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
การใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ สามารถช่วยเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ใช้สื่ออย่างเดียวและสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่หลากหลายและสะดวกรวดเร็วต่อการทำงาน



5 การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ
การวัดและประเมินผลเป็นส่วนสำคัญของการจัดการเรียนการสอน  การวัดและประเมินผลจึงต้องปรับเปลี่ยนไป ให้มีลักษณะเป็นการประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และประเมินผลตามสภาพจริงด้วย
          การประเมินผลตามสภาพจริง เป็นการประเมินผลผู้เรียนรอบด้านตามสภาพจริงของผู้เรียน มีลักษณะสำคัญ
6 การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
  1.เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงในการเรียนการสอนในครั้งต่อไป
 2. เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อผลการเรียนหรือกิจกรรมระหว่างเรียนทุกครั้ง
3. เพื่อรายงานผลการประเมินให้ผู้ปกครองและตัวนักเรียนเองได้ทราบเป็นรายๆ
 4.เพื่อทราบจุดอ่อน จุดแข็งของผู้เรียน
5.  เพื่อนำผลการเรียนไปปรับปรุงในครั้งต่อไปได้ถูกต้องตรงประเด็น
7 การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตนเอง
การทำวิจัยในแต่ละครั้งจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายซึ่งมีวิธีการดังนี้
1.ปัญหาในการวิจัย
2.สาเหตุของปัญหา
3.การแสวงหาแนวทางการแก้ปัญหา
4.การพัฒนานวัตกรรม
5.การนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
6.ผลการใช้นวัตกรรม
วิธีการเหล่านี้จะทำให้โครงการหรือการพัฒนานวัตกรรมงานต่างๆบรรลุไปได้ด้วยดี
ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ พระพุทธศาสนากับการพัฒนาชีวิต            เวลา  2    ชั่วโมง
รายวิชาสังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม (ส31101)   ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม                                   เรื่อง หน้าที่ชาวพุทธ
มาตรฐานที่     1.2 ,1.3                              มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่    1.1.2,1.2.2,1.3.2                                              
_____________________________________________________________________
1.    สาระสำคัญ
                พุทธศาสนิกชนยึดพระพุทธศาสนาเป็น  แนวทางในการดำเนินชีวิต  ในฐานะชาวพุทธมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อพระพุทธศาสนา โดยการเรียนรู้วิถีชีวิตของพระภิกษุ การปฏิบัติอย่างเหมาะสมทั้งกายวาจาใจ ต่อพระสงฆ์ ตลอดการเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนาและการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
ทำให้มีความรู้ความเข้าใจและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                รู้และเข้าใจและสามารถปฏิบัติตนตามหน้าที่ชาวพุทธที่ดีได้
                ด้านความรู้
                            บอกหน้าที่ชาวพุทธและปฏิบัติตนชาวพุทธที่ดีได้
                ด้านทักษะ/ กระบวนการ
             1.  ปฏิบัติตนตามหน้าที่ชาวพุทธที่ดีได้ 
             2 .  กระบวนการกลุ่ม
                ด้านคุณลักษณะของผู้เรียน
             สามารถปฏิบัติตนในฐานะหน้าที่ชาวพุทธที่ดี และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

 3. สาระการเรียนรู้
                3.1  หน้าที่ชาวพุทธ
                3.2  การเรียนรู้วิถีชีวิตของพระสงฆ์
                3.3  ทิศ 6 มิตรแท้  มิตรเทียม
   3.4   การร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา
   3.5  การเข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา                      


4. ชิ้นงาน/หลักฐานการเรียนรู้เรื่องหน้าที่ชาวพุทธ
      1. ใบความรู้ เรื่องหน้าที่ชาวพุทธ
      2.  ใบงาน ที่ 1  เรื่องหน้าที่ชาวพุทธ
5. การบูรณาการ
                   การบูรณาการแบบสอดแทรกคุณธรรม

6. กระบวนการจัดการเรียนรู้

(ชั่วโมงที่  1  )
1.  ครูและนักเรียนสนทนาถึงการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา  ว่านักเรียนเคยร่วมกิจกรรมบ้างหรือไม่
2.  ครูแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวังว่า  รู้และเข้าใจและปฏิบัติตนหน้าที่ชาวพุทธที่ดีได้
   3. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  เรื่องหน้าที่ชาวพุทธ จำนวน 10 ข้อ
   4.  ครูแจกใบความรู้เรื่องหน้าที่ชาวพุทธ
   5.  นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ  6 คน ให้แต่ละกลุ่มเลือกหัวหน้ากลุ่มและเลขากลุ่มและมอบหมายงานดังนี้
      กลุ่มที่  1  ศึกษาเรื่องความหมายของชาวพุทธและการเรียนรู้วิถีชีวิตของพระภิกษุ
      กลุ่มที่  2  ศึกษาเรื่องการปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์ทางกาย
      กลุ่มที่  3  ศึกษาเรื่องการปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์ทางวาจา
      กลุ่มที่  4  ศึกษาเรื่องการปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์ทางใจ
      กลุ่มที่  5  ศึกษาเรื่องทิศเบื้องซ้ายทิศ 6
      กลุ่มที่  6  ศึกษาเรื่องมิตรแท้มิตรเทียม
      กลุ่มที่  7  ศึกษาเรื่องการร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา
      กลุ่มที่  8  ศึกษาเรื่องการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
  6. นักเรียนแต่ละคนลงมือปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายพร้อมสรุปความรู้ลงสมุดและนำเสนอในชั่วโมงต่อไป  พร้อมแจกใบงานที่ 1 เรื่องหน้าที่ชาวพุทธให้นักเรียนทำเพิ่มเติมนอกเวลาเรียน                                               

( ชั่วโมงที่  2 )
   1.  นักเรียนสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย  และครูซักถามถึงเนื้อหาสาระที่นักเรียนไปสรุปมาจากใบความรู้เรื่องหน้าที่ชาวพุทธ ว่านักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง
     2.  นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานหน้าชั้นเรียน  พร้อมทั้งครูสรุปเนื้อหาเพิ่มเติมให้นักเรียนพร้อมกับเฉลยใบงานที่ 1 เรื่องหน้าที่ชาวพุทธ
   3. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน 10 ข้อ เรื่อง หน้าที่ชาวพุทธ
7.สื่อ/แหล่งเรียนรู้
   1.  ใบความรู้เรื่องหน้าที่ชาวพุทธ
   2.  ใบงานที่ 1  เรื่องหน้าที่ชาวพุทธ
                3. แบบทดสอบก่อนเรียน -  หลังเรียนเรื่องหน้าที่ชาวพุทธ
                5. อินเตอร์เน็ต
                6. ห้องสมุด










8. การวัดและประเมินผล
               
             สิ่งที่ต้องการวัด
   วิธีวัดผล
 เครื่องมือ
           เกณฑ์
1. ความรู้(K)
                บอกหน้าที่ชาวพุทธและปฏิบัติตนชาวพุทธที่ดีได้



-  ทดสอบ
-  ตรวจใบงาน


- แบบทดสอบ
- ใบงาน

-  ผ่านเกณฑ์ 50%
2.ทักษะ/ กระบวนการ(P)
  ปฏิบัติตนตามหน้าที่ชาวพุทธที่ดีได้ 

-  สังเกตพฤติกรรมกลุ่ม

-  แบบสังเกตพฤติกรรมกลุ่ม

- เข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง
- ผ่านระดับคุณภาพ
3.คุณลักษณะผู้เรียน(A)
              สามารถปฏิบัติตนในฐานะหน้าที่ชาวพุทธที่ดี และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้


-  บันทึกพฤติกรรม


-  แบบบันทึกพฤติกรรม


- มีพฤติกรรมที่แสดงถึงหน้าที่ชาวพุทธที่ดี  อย่างน้อย
 2 ครั้ง











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น