วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่12


ภาพความประทับใจ
ในการศึกษาภาคสนามในครั้งนี้
นาย ศราวุธ   แก้วฉิมพลี
รหัส 5111116018  โปรแกรมสังคมศึกษา ห้อง 1


มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
จากการที่ได้ไปศึกษาภาคสนามในครั้งนี้มีหลายแห่งที่กระผมชื่นชอบและสวยงามแต่ที่กระผมมีความประทับใจมากที่สุดคือในสถานที่โบราณสถานประวัติศาสตร์ที่สุโขทัยมากที่สุด
เนื่องจากในส่วนตัวแล้วกระผมชอบประวัติศาสตร์อยู่แล้วจากการที่ได้เรียนรู้จากอาจารย์ผู้สอนและจากการที่ได้อ่านหนังสือแต่ไม่เคยได้ไปสัมผัสด้วยสายตาของตัวเอง นับว่าเป็นโอกาสที่ดีในครั้งนี้ที่ได้ไปเห็นสถานที่จริงๆ ทำให้มีความรู้อย่างรากลึกมากยิ่งขึ้นจากการที่ได้ฟังอาจารย์ผลัดกันบรรยายในรถหลายๆท่านและจากการที่ฟังจากผู้บรรยายในสถานที่
จากข้อความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงที่ว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว แสดงให้เห็นถึงสภาพทางเศรษฐกิจของสังคมสมัยนั้นว่ามีความสมบูรณ์พูนสุขทั้งนี้เนื่องจากจำนวนประชากรมีน้อยกว่าทรัพยากรธรรมชาติประเภทอาหารถ้านำไปเปรียบเทียบในเรื่องของความสุขของประชากรสมัยอยุธยากับสุโขทัย กระผมคิดว่าสมัยสุโขทัยคงมีความสุขในการดำรงชีพมากกว่าอยุธยาทั้งนี้เนื่องจากอยุธยามีความเคร่งเครียดกับสงคราม ชนชั้นผู้ปกครองในสมัยสุโขทัยมีความสัมพันธ์ใกล้ ชิดกับราษฎรมากกว่าทั้งนี้เพราะลักษณะการปกครองแบบครอบครัวหรือพ่อปกครองลูก   ถึงแม้สังคมสุโขทัยจะอยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชแต่ประชาชนก็มีเสรีภาพมากกว่าอยุธยาดั่งข้อความศิลาจารึกที่ว่า   ใครจักใคร่ค้าช้างค้า  ใครจักค้าม้าค้า  ข้อความนี้แสดงให้เห็นถึงเสรีภาพในการค้าขายโดยในสมัยสุโขทัยมีการสนับสนุนการค้าโดยไม่เก็บภาษีซึ่งต่างกับอยุธยาที่มีการเก็บภาษีจังกอบ ภาษีสินค้า   แต่การค้าของอยุธยามีการขยายจากคู่ค่ากับเอเซียไปค้ากับชาวตะวันตกด้วย  อย่างไรก็ตามจากข้อความในศิลาจารึกสองตอนนี้ยังคงนี้มีการแสดงมุมมองของอาจารย์ที่แตกต่างกันไปในการบรรยายระหว่างเดินทางอย่างน่าตื่นเต้น   ทำให้นักศึกษาได้เห็นมุมมองกว้างขึ้น  และมันก็เป็นการกระตุ้นต่อมอยากรู้ของกระผมมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม  แสดงให้เห็นว่าการตีความทางประวัติศาสตร์นั้นผู้ที่ตีความนั้นจะตีความตามมุมมองของนักวิชาการแต่ละคน  การที่จะเชื่อใครนั้นผู้รับต้องมีเหตุผลและฟังรับรู้ข้อมูลหลายๆด้านมาประกอบ  การอ้างอิงถึงข้อมูลที่ได้มานั้นมีความสำคัญมาก  ในการที่จะตัดสินใจรับรู้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์โดยสังเขปของสุโขทัย
สุโขทัยรุ่งเรืองมากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชซึ่งเป็นกษัตริย์ไทยที่มีความสามารถทางด้านการรบ   การปกครอง   อักษรศาสตร์และการต่างประเทศ ทรงสามารถขยายอำนาจเข้าไปในดินแดนที่เคยเป็นของเขมรมาก่อน   ทางตะวันออกทรงแผ่อำนาจไปถึงหลวงพระบางเวียงจันทร์ลุ่มน้ำป่าสักจนถึงเมืองหนองคายของไทยในปัจจุบันทางใต้ได้บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  ตอนกลางเรื่อยลงไปจนตลอดแหลมมาลายู ทางตะวันตกมีอำนาจเหนือหัวเมืองมอญ   การขยายอำนาจของสุโขทัยไม่มีผู้ขัดขวางเพราะการขยายอำนาจของมองโกลเข้ามาตีพุกามได้  อาณาจักเขมรก็เสื่อมอำนาจลง ทางด้านต่างประเทศ ทรงเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับราชวงศ์มองโกลที่ปกครองจีน  ทำให้ลักษณะการปกครองมีลักษณะแบบมองโกลเจือปนอยู่  ผู้นำคือพ่อ   ราษฎรเป็นลูก   ทรงประดิฐอักษรไทยใช้เป็นครั้งแรก  การลงโทษทางกฏหมายไม่เข้มเหมือนกับกับ กฎหมายกัมพูชาเนื่องจาก อิทธิพลของพระพุทธศาสนาเข้ามามีบทบาทด้วย
ศิลปะของสุโขทัยก็จะตรงข้ามกับกัมพูชา  เช่น พระพุทธรูปสุโขทัยมีพุทธลักษณะที่งดงามลีลาอ่อนช้อย ตรงข้ามกับเขมรที่มีความแข็งกระด้างหน้ากลัวเจือปนอยู่
พระพุทธศาสนาที่เข้ามาในสุโขทัยคือศาสนาพุทธนิกายหีนยาน  รับโดยผ่านมอญและเขมร  และกลายเป็นศาสนาประจำชาติของไทยตั้งแต่นั้นมา หลังสมัยพ่อขุนรามคำแหงสุโขทัยอ่อนแอลง  เมืองขึ้นต่างแยกตัวเป็นอิสระ เกิดชุมชนของไทยทางใต้   ตั้งตนเป็นใหญ่ขึ้นโดยการนำของพระเจ้าอู่ทอง หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 โดยมีศูนย์กลางที่กรุงศรีอยุธยาต่อมาผนวกสุโขทัยไว้ได้
ส่วนในความประทับใจในโบราณสถานทางประวัติศาสตร์สุโขทัยอิกอย่างหนึ่งคือ องค์พระพุทธรูปในสมัยสุโขทัยดูแล้วมีความแตกต่างกันกับสมัยอยุธยาอย่างเห็นได้ชัดจากพระพักของพระพุทธรูปที่สุโขทัยอมยิ้มมีความสุขมากกว่าอยุธยาอาจเป็นเพราะว่าสุโขทัยรับอิทธิพลมาจากมอญซึ่งศิลปกรรมที่ออกมาจะดูมีชีวิตชีวามากกว่าศิลปะอยุธยาที่มีความแข้งกระด้างซ้อนอยู่ในพระพักเนื่องจากอยุธยารับอิทธิพลมาจากเขมร  
การศึกษาภาคสนามในครั้งนี้นับว่าเป็นประโยชน์มากอย่างยิ่งสำหรับการศึกษาโปรแกรมสังคมศึกษาเพราะจะทำให้นักศึกษาเข้าใจและเห็นสถานที่จริงได้เปิดหูเปิดตาให้กว้างขึ้นการบรรยายของอาจารย์หลายๆท่านได้ให้ถึงมุมมองที่แตกต่างกันออกไปและสามารถนำไปใช้ในการสอนต่อไปได้อย่างมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นอยากให้มีการศึกษาภาคสนามอย่างนี้ต่อไป
   * แต่ถ้าเป็นไปได้อยากให้มีการจัดทัวร์ไปศึกษาในประเทศเพื่อนบ้านใกล้ของไทยบ้างคงจะดีน่ะครับ


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น